ในทางธุรกิจ ความสามารถในการเจรจาต่อรองอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณจะได้สิ่งใดระหว่างการเซ็นสัญญามูลค่านับล้านให้เป็นผลสำเร็จหรือถูกไล่ออก อ่านคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อดูว่าทำอย่างไรถึงจะผ่านการเจรจาต่อรองอย่างฉลุยได้ทุกครั้ง
เริ่มจากทัศนคติที่ดี
ฝ่ายที่คุณต้องเจรจาต่อรองด้วยอาจเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของคุณเอง สิ่งสำคัญคือการทำให้ผลการต่อรองที่ออกมาเป็นไปในด้านบวกเพื่อปูทางสำหรับการติดต่อกันในอนาคตให้เป็นไปอย่างราบรื่น และนี่จะเป็นการยืนยันไปในตัวว่าทั้งสองฝ่ายสามารถให้ความร่วมมือกันเมื่อถึงคราวจำเป็น อย่างเช่น "The United States and Russia, England and France, and Germany and France are all former competitors who became allies. If they could do it, so can we."
เริ่มจากทัศนคติที่ดี
ฝ่ายที่คุณต้องเจรจาต่อรองด้วยอาจเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของคุณเอง สิ่งสำคัญคือการทำให้ผลการต่อรองที่ออกมาเป็นไปในด้านบวกเพื่อปูทางสำหรับการติดต่อกันในอนาคตให้เป็นไปอย่างราบรื่น และนี่จะเป็นการยืนยันไปในตัวว่าทั้งสองฝ่ายสามารถให้ความร่วมมือกันเมื่อถึงคราวจำเป็น อย่างเช่น "The United States and Russia, England and France, and Germany and France are all former competitors who became allies. If they could do it, so can we."
การรับมือกับนักต่อรองที่ไม่มีจรรยา
อาจเป็นไปได้เช่นกันว่าฝ่ายที่คุณต้องเจรจาต่อรองด้วยนั้นกลับพยายามเอารัดเอาเปรียบคุณไปในทุกวิถีทาง การที่จะต่อกรกับคนพวกนี้ให้ได้ผลคุณต้องหักห้ามใจไม่ให้ตอกกลับด้วยความก้าวร้าว แต่ควรพยายามรักษามารยาทและความสุภาพเอาไว้จะดีกว่า ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณกำลังถูกหลอกหรือเขากำลังโกหกคุณ สิ่งที่คุณควรพูดคือ "I've come to trust you completely, but on this issue I sense some holding back."
ใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพ
การตั้งคำถามอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเจรจาต่อรองให้ประสบผลสำเร็จในด้านบวก เพราะนั่นจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายประเมินว่าฝ่ายตรงข้ามว่ามีทัศนคติอย่างไรต่อเรื่องหลักๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการตั้งเป้าหมายหรือความคาดหวังไปในตัว การตั้งคำถามแบบเปิดในการเริ่มต้นจะเป็นการให้โอกาสแต่ละฝ่ายใช้ในการเก็บข้อมูล อย่างเช่น คุณอาจถามได้ว่า"What are you hoping to achieve today?"
การแก้ไขสถานการณ์หลังจากการทำให้คนอื่นเคืองใจ
ในระหว่างการเจรจาต่อรองใดๆ การสร้างความขุ่นเคืองใจให้กับฝ่ายตรงข้ามบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นข้อสำคัญคือคุณต้องรู้ว่าจะพูดอย่างไรเพื่อช่วยไกล่เกลี่ยสถานการณ์ให้ดีขึ้นหลังจากนั้น วิธีที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือการนำเอาคำพูดที่บาดหูนั้นมาปรุงแต่งใหม่ให้ฟังดูดีขึ้น เช่น "If I seemed sharp a few moments ago, be assured that it was only due to my determination to make this work."
แสดงความถ่อมตัว
การเจรจาต่อรองเป็นการสื่อสารสองด้าน เพราะฉะนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่จะทำให้การเจรจานี้สะดุดลงที่ "I'm right, you're wrong," ทางที่ดีคุณควรถ่อมตัวไว้บ้างและแสดงให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกว่าคุณให้เกียรติเขาด้วย อย่าทำเป็นรู้ดีไปเสียทุกกรณี และควรปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นผู้นำในบางเรื่อง คุณสามารถทำได้โดยการพูดว่า "That's more your area of expertise than mine, so I'd like to hear more."
การแก้ไขสถานการณ์หลังจากการต่อรองที่ไม่เป็นผล
เมื่อการเจรจาต่อรองใดๆ ต้องหยุดชะงักและจบลงด้วยความโกรธ ความขุ่นเคือง หรือความไม่เต็มใจที่จะรับฟังอีกต่อไป คุณต้องใส่ใจและระวังคำพูดให้ดีในการที่จะดึงให้บทสนทนากลับไปในด้านบวกอีกครั้ง ความกล้าที่จะยอมรับว่าตนเป็นฝ่ายผิดและการแสดงออกว่าคุณเต็มใจที่จะผลักดันในการต่อรองรุดหน้าต่อไปจะทำให้บรรยากาศในการเจรจานั้นเป็นไปอย่างมีอารยธรรมขึ้น คุณอาจใช้คำพูดได้ในทำนองนี้ "What happened last week was unacceptable as it was unintentional. Shall we move on?"
อาจเป็นไปได้เช่นกันว่าฝ่ายที่คุณต้องเจรจาต่อรองด้วยนั้นกลับพยายามเอารัดเอาเปรียบคุณไปในทุกวิถีทาง การที่จะต่อกรกับคนพวกนี้ให้ได้ผลคุณต้องหักห้ามใจไม่ให้ตอกกลับด้วยความก้าวร้าว แต่ควรพยายามรักษามารยาทและความสุภาพเอาไว้จะดีกว่า ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณกำลังถูกหลอกหรือเขากำลังโกหกคุณ สิ่งที่คุณควรพูดคือ "I've come to trust you completely, but on this issue I sense some holding back."
ใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพ
การตั้งคำถามอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเจรจาต่อรองให้ประสบผลสำเร็จในด้านบวก เพราะนั่นจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายประเมินว่าฝ่ายตรงข้ามว่ามีทัศนคติอย่างไรต่อเรื่องหลักๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการตั้งเป้าหมายหรือความคาดหวังไปในตัว การตั้งคำถามแบบเปิดในการเริ่มต้นจะเป็นการให้โอกาสแต่ละฝ่ายใช้ในการเก็บข้อมูล อย่างเช่น คุณอาจถามได้ว่า"What are you hoping to achieve today?"
การแก้ไขสถานการณ์หลังจากการทำให้คนอื่นเคืองใจ
ในระหว่างการเจรจาต่อรองใดๆ การสร้างความขุ่นเคืองใจให้กับฝ่ายตรงข้ามบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นข้อสำคัญคือคุณต้องรู้ว่าจะพูดอย่างไรเพื่อช่วยไกล่เกลี่ยสถานการณ์ให้ดีขึ้นหลังจากนั้น วิธีที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือการนำเอาคำพูดที่บาดหูนั้นมาปรุงแต่งใหม่ให้ฟังดูดีขึ้น เช่น "If I seemed sharp a few moments ago, be assured that it was only due to my determination to make this work."
แสดงความถ่อมตัว
การเจรจาต่อรองเป็นการสื่อสารสองด้าน เพราะฉะนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่จะทำให้การเจรจานี้สะดุดลงที่ "I'm right, you're wrong," ทางที่ดีคุณควรถ่อมตัวไว้บ้างและแสดงให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกว่าคุณให้เกียรติเขาด้วย อย่าทำเป็นรู้ดีไปเสียทุกกรณี และควรปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นผู้นำในบางเรื่อง คุณสามารถทำได้โดยการพูดว่า "That's more your area of expertise than mine, so I'd like to hear more."
การแก้ไขสถานการณ์หลังจากการต่อรองที่ไม่เป็นผล
เมื่อการเจรจาต่อรองใดๆ ต้องหยุดชะงักและจบลงด้วยความโกรธ ความขุ่นเคือง หรือความไม่เต็มใจที่จะรับฟังอีกต่อไป คุณต้องใส่ใจและระวังคำพูดให้ดีในการที่จะดึงให้บทสนทนากลับไปในด้านบวกอีกครั้ง ความกล้าที่จะยอมรับว่าตนเป็นฝ่ายผิดและการแสดงออกว่าคุณเต็มใจที่จะผลักดันในการต่อรองรุดหน้าต่อไปจะทำให้บรรยากาศในการเจรจานั้นเป็นไปอย่างมีอารยธรรมขึ้น คุณอาจใช้คำพูดได้ในทำนองนี้ "What happened last week was unacceptable as it was unintentional. Shall we move on?"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น