งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมา ระบุว่า มนุษย์เรามิได้มีตาไว้ดู มีหูไว้ฟัง หรือมีผิวหนังไว้รับการสัมผัสเท่านั้น อวัยวะทั้งสามนี้ ยังสามารถสลับหน้าที่ซึ่งกันและกันได้ด้วย
ความรู้พื้นฐานทางประสาทวิทยาสอนไว้ว่า ระบบการฟังของร่างกายทำหน้าที่บันทึกเสียง ในขณะที่ระบบการมองบันทึกภาพ กล่าวได้ว่า ระบบประสาทแบ่งหน้าที่ทำงาน โดยไม่มีการสลับงาน และเมื่อสมองรับเสียง และภาพจากระบบทั้งสองที่แยกจากกันแล้ว จึงจะนำเสียงและภาพไปผสมรวมกันให้
แต่ผลงานวิจัยที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาแสดงให้เห็นว่า สมองของเรานั้นสามารถอาศัยเสียงเพื่อมองดู และใช้แสงเพื่อรับฟังได้
มีการทดลองให้ลิงหาแหล่งที่มาของแสง เมื่อส่องแสงสว่าง การหาแหล่งที่มาทำได้ง่ายมาก แต่ทำได้ยากขึ้นเมื่อหรี่แสงลงต่ำ แต่ถ้าส่งเสียงประกอบแสงสลัวนั้นด้วยแล้ว ลิงสามารถหาแหล่งแสงได้อย่างรวดเร็ว รวดเร็วเกินกว่าที่จะอธิบายได้ด้วยความรู้เรื่องประสาทวิทยาอย่างที่เคยเรียนกันมา
นักวิทยาศาสตร์บันทึกปฏิกิริยาของแซลล์ประสาท และพบว่าเมื่อให้เสียงประกอบแสงสลัว แซลล์ประสาททำงานเสมือนกับว่า แสงนั้นมีความสว่างมากขึ้น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเร็วจนนักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่า จะต้องมีการติดต่อกันโดยตรงระหว่างหูกับตา หมายความว่า แซลล์ประสาทของเราสามารถสลับหน้าที่ทำงานกันได้
ทีมงานวิจัย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันและฝรั่งเศส ให้ความเห็นว่า อาจใช้ผลงานวิจัยนี้ ช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมคนตาพิการจึงมีประสาทการรับฟังเฉียบคมเป็นพิเศษ ในขณะที่คนหูหนวกมักจะมองเห็นภาพได้ดีกว่าคนทั่วไป ขณะเดียวกัน ประสาทสัมผัสก็อาจช่วยทั้งการมองและการฟังได้ด้วย
นักวิทยาศาสตร์ในแคนาดาทดลองให้อาสาสมัครรับฟังการออกเสียงพยัญชนะที่ใกล้เคียงกัน อย่างเช่น อักษร p, t, b, และ d และพบว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ถูกแตะที่ผิวหนัง เมื่อรับฟังการออกเสียง สามารถระบุตัวอักษรได้อย่างถูกต้องทุกตัว เปรียบเทียบกับอาสาสมัครที่ไม่ถูกแตะตัว
ส่วนการแตะต้องที่ผิวหนังช่วยการมองอย่างไรนั้น นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ให้นึกถึงเวลาเราตบยุงก่อนจะเห็นตัวยุงด้วยซ้ำไปเป็นตัวอย่าง หรืออาจจะได้เคยเห็นข่าวทางโทรทัศน์ ที่แสดงให้เห็นประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าตบแมลงวันในขณะที่นั่งให้สัมภาษณ์อยู่กับผู้สื่อข่าวในทำเนียบไว้ท์ เฮ้าส์เมื่อหลายเดือนมาแล้วเป็นตัวอย่างก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น