(1). นอนและตื่นให้ตรงเวลา เข้านอนและตื่นให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อให้นาฬิกา
เวลาของคุณทำงานได้ดี
(2). ทำให้ห้องนอนเป็นสถานที่พักผ่อน ไม่ใช่ศูนย์กลางเครื่องมือสื่อสาร เข้าห้องนอน
เมื่อรู้สึกง่วงจริงๆ จัดสารพัดสื่อ เช่น โทรทัศน์, อินเตอร์เน็ต, โทรศัพท์ เป็นต้น ไว้นอกห้องนอนเสมอ (ถ้าทำได้) ไม่ ควรนอนดูโทรทัศน์… การนอนดูโทรทัศน์ ทำให้คอเอียง ไม่ตรง และเกร็งเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้คุณปวดคอ กระดูกคอเสื่อม หรือเวียนหัวจากการที่กระดูกคอเสื่อมไปกดเส้นเลือดได้ “ทางที่ดีที่สุด การงดการทานหรื่อดื่มอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์ เป็นเรื่องดีที่สุด”
(3). ไม่นอนตอนกลางวัน การนอนหลับกลางวันอาจทำให้การนอนหลับตอนกลางคืน
ยากขึ้น ตื้นขึ้น และตื่นได้ง่ายขึ้นเมื่อมีเสียงรบกวน
(4). ใช้เสียงประกอบเพื่อช่วยให้เคลิ้ม การนอนในห้องที่เงียบเป็นการดีที่สุด แต่ถ้ารอบๆ
ห้องของคุณมีเสียงรบกวน การใช้เสียงที่นิ่ง หรือเสียงที่ดังเรื่อยๆ (ไม่เบาบ้างดังบ้าง
เป็นพักๆ) เช่น พัดลม เพลงประเภทเรื่อยๆ มาเรียงๆ เช่น เพลงคลาสสิค เป็นต้น อาจ
ช่วยกลบเสียงรบกวนได้
(5). ลาขาดจากคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์ คนที่นอนหลับยากควรงดเครื่องดื่มที่มีกา
เฟอีน เช่น กาแฟ ชา ชาเขียว เครื่องดื่มบำรุงกำลัง โกโก้ ชอคโกแล็ต โอวัลติน ไมโล เป็นต้น หลังเที่ยงวัน นอกจากนั้นควรงดแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ เป็นต้น หลังพระอาทิตย์ตกดิน แอลกอฮอล์ทำให้หลับได้ง่ายก็จริง แต่ทำให้คุณภาพของการหลับลดลง คือ หลับตื้น และตื่นง่าย แถมยังทำให้คนที่นอนกรน… กรนดังขึ้นด้วยทางที่ดีที่สุด หากงดการทานหรื่อดื่มอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์เป็นเรื่องดีที่สุด
(6). หรี่ไฟกลางคืนและปิดไฟก่อนนอน คนที่นอนหลับยากควรลดแสงให้มืดลงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน กลางคืนอย่าเปิดไฟจ้า หรี่ไฟรอบๆ รวมทั้งไฟหน้าจอ TV, จอคอม
พิวเตอร์ (ถ้าใช้) ให้มืดก่อนเวลานอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จัดห้องนอนให้มืด ปิดไฟนอน หาม่านหรือแผ่นปิดตามาบังแสงไฟเท่าที่จะทำได้ ถ้าตื่นก่อนเวลา… พยายามอย่าเปิดไฟจ้า เพื่อไม่ให้นาฬิกาเวลาของร่างกายสับสน รอจนพระอาทิตย์ขึ้นแล้วจึงเปิดไฟเต็มที่
หลังพระอาทิตย์ขึ้น… อย่าลืมออกไปรับแดดอ่อนตอนเช้าและตอนเย็น เพื่อให้นาฬิกา
เวลารับรู้เวลากลางวันได้ดี
(7). ลองนมอุ่นๆ ก่อนนอน นมไขมันต่ำ นมไม่มีไขมัน หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมอุ่นๆ ประมาณ 1/2 แก้ว แล้วบ้วนปากหลายๆ ครั้งอาจช่วยให้หลับสบายขึ้น กลไกที่เป็นไปได้คือ เครื่องดื่มอุ่นๆ อาจทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยชั่วคราว หลังจากนั้นจะลดลง และทำให้รู้สึกง่วง อีกกลไกหนึ่งคือ น้ำตาลเล็กน้อยในนมอาจทำให้ร่างกายสร้างสารซีโรโทนิน ทำให้ง่วงได้
(8). เช็คยาที่คุณใช้ ยาบางอย่าง เช่น ยาลดน้ำมูก เป็นต้น อาจออกฤทธิ์กระตุ้นเล็ก
น้อย ทำให้หลับยาก ควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรเพื่อหลีกเลี่ยงยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นช่วง
ก่อนนอน
(9). อย่าใช้ยาด้วยตัวเอง ถ้านอนไม่หลับ ควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เนื่อง
จากยานอนหลับ หรือยาบางชนิดที่ทำให้ง่วงอาจทำให้ง่วงนอนไปถึงตอนกลางวัน ทำ
ให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง แถมยังเสี่ยงอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น